ความหมายนวัตกรรมการศึกษา
ความหมายของนวัตกรรม
นวัตกรรมหมายถึง ความคิด การปฏิบัติและการกระทำใหม่ ๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อนหรือการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำนวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม
นวัตกรรม (Innovation) มีรากศัพท์มาจาก innovare ในภาษาลาติน แปลว่า ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา ความหมายของนวัตกรรมในเชิงเศรษฐศาสตร์คือ การนำแนวความคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบใหม่ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หรือก็คือ การทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงต่าง (Changs) ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราให้กลายมาเป็นโอกาส ( Opportunity) และถ่ายทอดไปสู่แนวความคิดใหม่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม
นวัตกรรมเป็นตัวแปรที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงองค์กรด้านต่าง ๆ ในเชิงธุรกิจ ได้แก่ ความอยู่รอด การเจริญเติบโต การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน การสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่และสมรรถนะหลัก ซึ่งนวัตกรรมไม่ใช่แค่การพัฒนาสินค้าใหม่ เท่านั้น แต่เกี่ยวข้องกับการลดต้นทุน การแสวงหาแนวทางการตอบสนองความต้องการของตลาด การยกระดับคุณภาพชีวิตและการสร้างคุณภาพเพิ่ม
นวัตกรรมในยุคแรก ๆ เกิดจากการคิดค้นใหม่ทั้งหมด แต่นวัตกรรมในยุคใหม่เกิดจากการพัฒนาให้ เป็นชิ้นใหม่ที่มีมูลค่า และสามารถนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ได้
นวัตกรรมทางการศึกษา คือ
นวัตกรรมทางการศึกษา” (Educational Innovation) หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียน และช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้วีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ(Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น
องค์ประกอบของนวัตกรรม
1. เป็นสิ่งใหม่
2. เน้นใช้ความรู้ความคิดสร้างสรรค์
3. เป็นประโยชน์ ต้องตอบได้ว่าสิ่งที่เราสร้างเป็นอย่างไร
4. เป็นที่ยอมรับ
5. มีโอกาสในการพัฒนา
นวัตกรรมมี 4 ประเภท
1. product innovation : การเปลี่ยนแปลงในผลิตภัณฑ์หรือบริการของ
2. Process innovation : การเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตหรือกระบวน การนำเสนอผลิตภัณฑ์
3. Position innovation : การเปลี่ยนแปลงรูปแบบของสินค้าหรือบริการเป็นการเปลี่ยนตำแหน่งของผลิตภัณฑ์ โดยการสร้างการรับรู้และความเข้าใจในผลิตภัณฑ์ต่อลูกค้า
4. Paradigm innovation : การมุ่งให้เกิดนวัตกรรมที่เปลี่ยนแปลงกรอบความคิด
ประเภทของนวัตกรรมการศึกษา
นวัตกรรมที่นำมาใช้ทั้งที่ผ่านมาแล้ว และที่จะมีในอนาคตมีหลายประเภทขึ้นอยู่กับการประยุกต์ใช้นวัตกรรมในด้าน ต่างๆ ซึ่งจะขอแนะนำนวัตกรรมการศึกษา 5 ประเภทดังนี้
1. นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร เป็นการใช้วิธีการใหม่ๆในการพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมในท้อง ถิ่น และตอบสนองความต้องการสอนบุคคลให้มากขึ้น เนื่องจากหลักสูตรจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เพื่อให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี เศรษฐกิจและสังคมของประเทศและของโลก นวัตกรรมทางด้านหลักสูตรได้แก่ การพัฒนาหลักสูตรบูรณาการ หลักสูตรรายบุคคล หลักสูตรกิจกรรมและประสบการณ์ และหลักสูตรท้องถิ่น
2. นวัตกรรมการเรียนการสอน เป็นการใช้วิธีระบบในการปรับปรุงและคิดค้นพัฒนาวิธีสอนแบบใหม่ๆ ที่สามารถตอบสนองการเรียนรายบุคคล การสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง การเรียนแบบมีส่วนร่วม การเรียนรู้แบบแก้ปัญหา การพัฒนาวิธีสอนจำเป็นต้องอาศัยวิธีการและเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาจัดการและสนับสนุนการเรียนการสอน
3. นวัตกรรมสื่อการสอน เนื่องจากมีความก้าวหน้าของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์เครือข่ายและเทคโนโลยีโทรคมนาคม ทำให้นักการศึกษาพยายามนำศักยภาพของเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้ในการผลิตสื่อการ เรียนการสอนใหม่ๆ จำนวนมากมาย ทั้งการเรียนด้วยตนเอง การเรียนเป็นกลุ่ม และการเรียนแบบมวลชน ตลอดจนสื่อที่ใช้เพื่อสนับสนุนการฝึกอบรมผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์
4. นวัตกรรมทางด้านการประเมินผล เป็นนวัตกรรมที่ใช้เป็นเครื่องมือเพื่อการวัดผลและประเมินผลได้อย่างมี ประสิทธิภาพ และทำได้อย่างรวดเร็ว รวมไปถึงการวิจัยทางการศึกษา การวิจัยสถาบัน ด้วยการประยุกต์ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์มาสนับสนุนการวัดผล ประเมินผลของสถานศึกษา ครู อาจารย์
5. นวัตกรรมการบริหารจัดการ เป็นการใช้นวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารสนเทศมาช่วยในการบริหาร จัดการ เพื่อการตัดสินใจของผู้บริหารการศึกษา ให้มีความรวดเร็วทันเหตุการณ์ ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก นวัตกรรมการศึกษาที่นำมาใช้ทางด้านการบริหารจะเกี่ยวข้องกับระบบการจัดการ ฐานข้อมูลในหน่วยงานสถานศึกษา
การจำแนกนวัตกรรมตามประเภทของผู้ใช้
1. นวัตกรรมที่เป็นสื่อสำหรับผู้สอน
2. นวัตกรรมที่เป็นสื่อสำหรับผู้เรียน
จำแนกตามลักษณะของนวัตกรรม
1. เทคนิควิธีการ
2. สื่อการเรียนรู้
จำแนกตามจุดเน้นของนวัตกรรม
1. นวัตกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผลผลิต
2. นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นเทคนิค วิธีการ และกระบวนการ
3. นวัตกรรมที่เน้นทั้งผลผลิต
วันศุกร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2561
รำสีนวล
รำสีนวล
“สีนวล” เป็นชื่อของเพลงหน้าพาทย์ที่จะใช้บรรเลงประกอบการแสดงละคร โดยจะใช้ประกอบกิริยาท่าทางของหญิงสาวที่มีมารยาทอ่อนช้อยงดงาม
ทำนองเพลงมีท่วงทีซ่อนความพริ้งเพราเอาไว้ในตัว ต่อมามีผู้ประดิษฐ์คำร้องประกอบการรำ ซึ่งแต่เดิมรำสีนวลนั้นเป็นการแสดงชุดหนึ่งที่นำมาจากละครนอกเรื่องไชยเชษฐ์ ภายหลังได้มีการนำมาใช้แสดงเป็นระบำเบ็ดเตล็ดเนื่องจากว่าการรำสีนวลเป็นศิลปะที่สวยงามทั้งท่ารำและเพลงขับร้อง จึงได้มีการพัฒนามาเป็นชุดสำหรับจัดแสดงในงานทั่วๆไปและนับเป็นการแสดงนาฏศิลป์ไทยอีกชุดหนึ่งที่ได้รับความนิยมแพร่หลายเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง
ลักษณะท่ารำและคำร้องของรำสีนวลมีความหมายถึงการบันเทิงรื่นรมย์ของหญิงสาวแรกรุ่นที่มีกิริยางดงาม อ่อนหวาน และมีอิริยาบถที่นุ่มนวลอ่อนช้อยตามลักษณะกุลสตรีไทย
ประวัติรำสีนวล
เป็นลีลาท่าทางการร่ายรำในศิลปะแบบพื้นเมืองของไทยที่แสดงถึงบรรยากาศรื่นเริง สนุกสนาน ในบทร้องจะมีความหมายเกี่ยวกับสีสันที่สวยงามของธรรมชาติ เนื่องจากเป็นชุดที่มีเนื้อเพลงสั้นกะทัดรัดและท่ารำง่าย จึงนิยมนำมาฝึกหัดกันและใช้แสดงเป็นหมู่คณะ
การแต่งกายสามารถแต่งได้หลายแบบ เพลงที่จะบรรเลงออกตอนท้ายจะใช้อยู่หลายประเภท เช่น ออกด้วยเพลงเร็ว – ลา, ออกด้วยวรเชษฐ์และออกด้วยเพลงสีนวลอาหนู 2 ชั้น ซึ่งเป็นเพลงจีนของเก่าที่ได้ดัดแปลงมาจากเพลงจีนเพลงหนึ่ง
ทราบกันว่าครูปุย ปาบุยะวาทย์ เป็นผู้แต่งทำนองเพลงและท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี นำเอาเพลงอาหนูมาประดิษฐ์ท่ารำให้เข้ากับบทร้องและทำนองใช้รำต่อจากรำสีนวล เรียกว่า “สีนวลออกอาหนู”
ดนตรี ที่ใช้บรรเลงประกอบการแสดง ใช้วงปี่พาทย์เครื่องห้า เครื่องคู่หรือเครื่องใหญ่ บรรเลงทำนองเพลงสีนวล และ เพลงเร็ว-ลา
ลักษณะการแต่งกาย ผู้แสดงนุ่งผ้าโจงกระเบน ห่มสไบจีบ สยายผมทัดดอกไม้ใส่เครื่องประดับ สร้อยคอ ตุ้มหู สร้อยตัว เข็มขัดพร้อมหัวเข็มขัด รัดต้นแขน สร้อยข้อมือ และกำไลข้อเท้า
โอกาสที่ใช้แสดง ใช้แสดงประกอบละครนอกเรื่อง "ไชยเชษฐ์" และใช้แสดงในงานมงคลต่าง ๆ แสดงเป็นหมู่หรือแสดงเดี่ยว ตามโอกาสที่เหมาะสม เช่น งานรื่นเริง งานเลี้ยงสังสรรค์ งานเทศกาลสำคัญ
เต้นกำรำเคียว
ประวัติ
การแสดงเต้นกำรำเคียว เป็นการละเล่นพื้นเมืองที่เก่าแก่แบบหนึ่งของชาวชนบทในภาคกลางของไทย แถบจังหวัดนครสวรรค์ ที่อำเภอพยุหะคีรี ซึ่งแต่เดิมประชาชนส่วนมากยึดอาชีพการทำนาเป็นหลักและด้วยนิสัยรักสนุก ประกอบกับการเป็นคนเจ้าบทเจ้ากลอนของไทยด้วย จึงได้เกิดการเต้นกำรำเคียวขึ้น ซึ่งในเนื้อเพลงแต่ละตอนจะสะท้อนให้เห็นสภาพความเป็นอยู่ของชาวบ้านอย่าง ชัดเจน ลักษณะการรำไม่อ่อนช้อยเช่นการรำไทยทั่ว ๆ ไป จะถือเอาความสนุกเป็นใหญ่ จะมีทั้ง “เต้น” และ “รำ” ควบคู่กันไป ส่วนมือทั้งสองของผู้รำข้างหนึ่งจะถือเคียว อีกข้างหนึ่งถือต้นข้าวที่เกี่ยวแล้ว จึงได้ชื่อว่า “ เต้นกำรำเคียว”
ลักษณะการแสดง
จะแบ่งผู้เล่นเป็น 2 ฝ่ายคือ ฝ่ายชายและฝ่ายหญิง สำหรับฝ่ายชายเรียกว่า “พ่อเพลง” ฝ่ายหญิงจะเรียกว่า “แม่เพลง” เริ่มด้วยพ่อเพลงร้องชักชวนแม่เพลงให้ออกมาเต้นกำรำเคียวโดยร้องเพลงและเต้น ออกไปรำล่อฝ่ายหญิง และแม่เพลงก็ร้องและรำแก้กันไป ซึ่งพ่อเพลงนี้อาจเปลี่ยนไปหลายๆ คน ช่วยกันร้องจนกว่าจะจบเพลง ส่วนผู้ที่ไม่ได้เป็นพ่อเพลงแม่ก็ต้องเป็น “ลูกคู่” ปรบมือและร้องเฮ้ เฮ้ว
ให้จังหวะ
โอกาสที่แสดง
การเต้นกำรำเคียวจะเล่นกันในฤดูเกี่ยวข้าว ซึ่งเมื่อถึงฤดูเกี่ยวข้าวชาวนามักมีการเอาแรงกันโดยต่างฝ่ายต่างไปช่วยกัน เกี่ยวข้าวจะไม่มีการว่าจ้างกัน ขณะที่มีการเกี่ยวข้าวนั้น เขามักจะมีการร้องเพลงเกี่ยวข้าวกันไปด้วย โดยร้องแก้กันระหว่างฝ่ายชายและฝ่ายหญิง และเมื่อหยุดพักการเกี่ยวข้าว ประมาณตะวันบ่ายคล้อยแล้วการเต้นกำรำเคียวจึงเริ่มเล่น
การแต่งกาย
ฝ่ายชายจะนุ่งกางเกงขาก๊วยและเสื้อกุยเฮงสีดำ มีผ้าขาวม้าคาดพุง สวมงอบและไม่สวมรองเท้า ฝ่ายหญิงจะนุ่งโจงกระเบนและเสื้อแขนกระบอกสีดำทั้งชุดเช่นกัน ทัดดอกไม้ที่หูขวาและไม่สวมรองเท้าผู้แสดงทุกคนต้องถือเคียวในมือขวาและถือ รวงข้าวในมือซ้ายด้วย
ดนตรีที่ใช้
ตามแบบฉบับของชาวบ้านเดิม ไม่มีดนตรีประกอบเพียงแต่ลูกคู่ทุกคนจะตบมือและร้องเฮ้ เฮ้วให้จังหวะ แต่เมื่อกรมศิลปากรนำไปดัดแปลง ก็ใช้ระนาดเป็นเสียงดนตรีประกอบในท่าเดินเข้า-ออก
สถานที่แสดง
เดิมแสดงกลางแจ้งบริเวณท้องนาที่เกี่ยวข้าวกันปัจจุบันมีผู้สนใจการแสดงชนิดนี้มากขึ้นจึงนำมาแสดงบนเวที
จำนวนผู้แสดง
ชายหญิงจับคู่กันเล่นเป็นคู่ ซึ่งเดิมนั้นไม่จำกัดคู่ผู้เล่น แต่กรมศิลปากรได้จำกัดผู้เล่นเพียง 5 คู่ เพื่อให้ครบทำนองและเนื้อเพลงที่เล่นและไม่เต็มเวที
บทร้องเพลงเต้นกำรำเคียว
เพลงมา
ชาย มา กันเถิดนางเอย (กรู้...) เอ๋ยรา แม่มา มารึมา แม่มา (ซ้ำ) มาเถิดแม่นุชน้อง พี่จะเป็นฆ้องให้น้อง เป็นปี่ ต้อยตะริดติ๊ดตอด น้ำแห้งน้ำหยอดที่ตรงลิ้นปี่ มาเถิดนะแม่มามารึมาแม่มา มาเต้นกำย่ำหญ้ากันใน นานี้เอย (ลูกคู่รับท้าย)
หญิง มากันเถิดนายเอย (กรู้...) เอ๋ยรา พ่อมา มารึมาพ่อมา ฝนกระจายปลายนา แล้วน้องจะ มาอย่างไรเอย (ลูกคู่รับท้าย)
เพลงไป
ชาย ไปกันเถิดนางเอย (กรู้...) เอ๋ยรา แม่ไป ไปรึไปแม่ไป ไปชมนกกันที่ในป่า ไปชมพฤกษากันที่ในไพร ไปชม ชะนีผีไพร กันเล่นที่ในดงเอย (ลูกคู่รับท้าย)
หญิง ไปกันเถิดนายเอย(กรู้...) เอ๋ยรา พ่อไป ไปรึไปพ่อไป น้องเดินขยิกจิกไหล่ตามก้น
พี่ชายไปเอย(ลูกคู่ รับท้าย)
เพลงเดิน
ชาย เดิน กันเถิดนางเอย(กรู้...) เอ๋ยรา แม่เดิน เดินรึเดิน แม่เดิน ย่างเท้าขึ้นโคกเสียงนกโพระดกมันร้องเกริ่น(ซ้ำ)จะชวนหมู่น้องไปท้องพะเนิน ชมเล่นให้เพลินใจเอย (ลูกคู่ รับท้าย)
หญิง เดินกันเถิดนายเอย(กรู้...) เอ๋ยรา พ่อเดิน เดินรึเดิน พ่อเดิน หนทางก็รกระหกระเหิน แล้วน้องจะเดินอย่างไรเอย(ลูกคู่ รับท้าย)
เพลงรำ
ชาย รำ กันเถิดนางเอย(กรู้...) เอ๋ยรา แม่รำ รำรึรำ แม่รำ ใส่เสื้อเนื้อดีแม่ห่มแต่สีดอกขำ (ซ้ำ) น้อยหรือแน่แม่ช่างรำ แม่เชื้อระบำเก่าเอย(ลูกคู่ รับท้าย)
หญิง รำกันเถิดนายเอย (กรู้...) เอ๋ยรา พ่อรำ รำรึรำ พ่อรำ มหาหงส์ลงต่ำ ต่างคนต่างรำไปเอย
เพลงร่อน
ชาย ร่อน กันเถิดนางเอย(กรู้...) เอ๋ยรา แม่ร่อน ร่อนรึร่อน แม่ร่อน (ชะฉ่า ชะฉ่า ชา ชา ๆ ๆ) ร่อนหรือร่อนแม่ร่อน รูปร่างเหมือนนางระบำ แม่เอ๋ยช่างรำ แม่คุณช่างร่อน(ซ้ำ...รูปร่าง) อ้อนแอ้นแขนอ่อนรูปร่างเหมือนมอญรำเอย(ลูกคู่ รับท้าย)
หญิง ร่อนกันเถิดนายเอย (กรู้...) เอ๋ยรา พ่อร่อน ร่อนรึร่อน พ่อร่อน สีนวลอ่อนอ่อนร่อน แต่ลมบนเอย(ลูกคู่ รับท้าย)
เพลงบิน
ชาย บิน กันเถิดนางเอย (กรู้...) เอ๋ยรา แม่บิน บินรึบิน แม่บิน สองตีนกระทืบดินใคร เลยจะบินไปได้อย่างเจ้า (ซ้ำ...สองตีน) ใส่งอบขาว ๆ รำกันงามเอย (ลูกคู่ รับท้าย)
หญิง บินกันเถิดนายเอย (กรู้...) เอ๋ยรา พ่อบิน บินรึบิน พ่อบิน มหาหงส์ทรงศีลบินไปตามลมเอย(ลูกคู่ รับท้าย)
เพลงยัก
ชาย ยัก กันเถิดนางเอย (กรู้...) เอ๋ยรา แม่ยัก ยักรึยัก แม่ยัก (เอาวา โจ๊ะ ติง ติงทั่ง ติง ติง ๆ ๆ วัวขี่ควาย กระต่ายขี่ลิง) ยักรึยัก แม่ยัก ยักตื้นติดกึก เอาละว่ายักลึกติดกัก ยักตื้นยักตื้นติดกึก ยักลึกติดกัก หงส์ทองน้องรักยักให้หมดวงเอย (ลูกคู่ รับท้าย)
หญิง ยักกันเถิดนายเอย (กรู้...) เอ๋ยรา พ่อยัก ยักรึยัก พ่อยัก อย่าเข้ามาใกล้น้องนักจะโดนเคียวควักตาเอย (ลูกคู่ รับท้าย)
เพลงย่อง
ชาย ย่อง กันเถิดนางเอย (กรู้...) เอ๋ยรา แม่ย่อง ย่องรึย่อง แม่ย่อง บุกดงอะไร แกรก แกรกสองมือก็แหวกนัยน์ตาก็มอง บุกดงอะไร แกรก แกรกสองมือก็แหวกนัยน์ตาก็มองพบฝูงอีก้อง พวกเราก็ย่องยิงเอย (ลูกคู่ รับท้าย)
หญิง ย่องกันเถิดนายเอย (กรู้...) เอ๋ยรา พ่อย่อง ย่องรึย่อง พ่อย่อง ฝูงละมั่งกวางทองย่อง มากินถั่วเอย (ลูกคู่ รับท้าย)
เพลงย่าง
ชาย ย่างกันเถิดนางเอย (กรู้...) เอ๋ยรา แม่ย่าง ย่างรึย่าง แม่ย่าง ย่างเถิด ย่างเถิด แม่ย่างย่าง รึย่างแม่ย่าง เจอะเสือพี่ก็จะยิง เจอะกระทิงพี่ก็จะย่าง เจอะเสือพี่ก็จะยิง เจอะกระทิง พี่ก็จะย่าง ไม่ว่าเนื้อเสือเนื้อช้างย่างมาฝากน้อยเอย (ลูกคู่ รับท้าย)
หญิง ย่างกันเถิดนายเอย (กรู้...) เอ๋ยรา พ่อย่าง ย่างรึย่าง พ่อย่าง ไม่ว่าเนื้อเสือเนื้อช้างย่างไปฝากเมียเอย (ลูกคู่ รับท้าย)
เพลงแถ
ชาย แถกันเถิดนางเอย (กรู้...) เอ๋ยรา แม่แถ แถรึแถ แม่แถ จะลงที่หนองไหน พี่จะไปหนองนั้นแน่ (ซ้ำ..จะลง) นกกระสา ปลากระแห แถให้ติดดินเอย (ลูกคู่ รับท้าย)
หญิง แถกันเถิดนายเอย (กรู้...) เอ๋ยรา พ่อแถ แถรึแถ พ่อแถ นกกระสา ปลากระแห แถมาลงหนองเอย (ลูกคู่ รับท้าย)
เพลงถอง
ชาย ถองกันเถิดนางเอย (กรู้...) เอ๋ยรา แม่ถอง ถองรึถอง แม่ถอง ถองเถิดถองเถิด แม่ถอง ถองรึถอง แม่ถอง ค่อยขยับจับจ้อง ถองให้ถูกนางเอย (ลูกคู่ รับท้าย)
หญิง ถองกันเถิดนายเอย (กรู้...) เอ๋ยรา พ่อถอง ถองรึถอง พ่อถอง (ชะฉ่า ชะฉ่า ชา ชา ๆ ๆ) ถองรึถอง พ่อถอง
กล้าดีก็เข้ามาลอง จะโดนกระบองตีเอย (ลูกคู่ รับท้าย)
รำกลองยาว
ประวัติรำกลองยาว
การเล่นเถิดเทิง มีผู้สันนิษฐานว่าเป็นของพม่านิยมเล่นกันมาก่อน เมื่อครั้งพม่ามาทำสงครามกับไทย ในสมัยกรุงธนบุรี หรือสมัยต้นแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เวลาพักรบพวกทหารพม่าก็เล่นสนุกสนานด้วยการเล่น ต่าง ๆ ซึ่งทหารพม่าบางพวกก็เล่น “กลองยาว” พวกไทยเราได้เห็นก็จำมาเล่นกันบ้าง ยังมีเพลงดนตรีเพลงหนึ่งซึ่งดนตรีไทยนำมาใช้บรรเลง มีทำนองเป็นเพลงพม่า เรียกกันมาแต่เดิมว่า เพลงพม่ากลองยาว ต่อมาได้มีผู้ปรับเป็นเพลงระบำ กำหนดให้ผู้รำแต่งตัวใส่เสื้อนุ่งโสร่งตา ศีรษะโพกผ้าสีชมพู (หรือสีอื่น ๆ บ้างตามแต่จะให้สีสลับกัน เห็นสวยอย่างแบบระบำ)มือถือขวานออกมาร่ายรำเข้ากับจังหวะเพลงที่กล่าวนี้ จึงเรียกเพลงนี้กันอีกชื่อหนึ่งว่า เพลงพม่ารำขวาน
อีกความหนึ่งมีผู้กล่าวว่า การเล่นเทิงบ้องกลองยาวนี้ เพิ่งมีเข้ามาในเมืองไทยเมื่อสมัยรัชกาลที่ 4 กรุงรัตนโกสินทร์นี้เอง กล่าวคือ มีพม่าพวกหนึ่งนำเข้ามาในรัชกาลนั้น ยังมีบทร้องกราวรำยกทัพพม่า ในการแสดงละครเรื่องพระอภัยมณี ตอน เก้าทัพ ซึ่งนิยมเล่นกันมาแต่ก่อน สังเกตดูก็เป็นตำนานอยู่บ้างแล้ว คือ ร้องกันว่า
ทุงเล ฯ ทีนี้จะเห่พม่าใหม่
ตกมาเมืองไทย มาเป็นผู้ใหญ่ตีกลองยาว
ตีว่องตีไวตีได้จังหวะ ทีนี้จะกะเป็นเพลงกราว
เลื่องชื่อลือฉาว ตีกลองยาวสลัดได ๆ
เมื่อชาวไทยเราเห็นเป็นการละเล่นที่สนุกสนานและเล่นได้ง่าย ก็เลยนิยมเล่นกันแพร่หลายไปแทบทุกหัวบ้านหัวเมือง สืบมาจนตราบทุกวันนี้ กลองยาวที่เล่นกันในวงหนึ่ง ๆ มีเล่นกันหลายลูกมีสายสะพายเฉวียงป่าของผู้ตี ลักษณะรูปร่างของกลองยาวขึงหนังด้านเดียวอีกข้างหนึ่งเป็นหางยาว บานปลายเหมือนกับกลองยาวของชาวเชียงใหม่ แต่กลองยาวของชาวเชียงใหม่เป็นกลองยาวจริง ๆ ยาวถึงประมาณ 2 วา ส่วนกลองยาวอย่างที่เล่นกันนี้ ยาวเพียงประมาณ 3 ศอกเท่านั้น ซึ่งสั้นกว่าของเชียงใหม่มาก ทางภาคอีสานเรียกกลองยาวชนิดนี้ว่า กลองหาง
กลองยาวแบบนนี้ของพม่าเรียกว่า โอสิ มีลักษณะคล้ายคลึงกับของชาวไทยอาหมในแคว้นอัสสัม เว้นแต่ของชาวไทยอาหมรูปร่างคล้ายตะโพน คือ หัวท้ายเล็ก กลางป่องใบเล็กกว่าตะโพน ขึ้นหนังทั้งสองข้าง ผูกสายสะพายตีได้ ตามที่เห็นวิธีเล่นทั้งกลองยาวของพม่าและกลองของชาวไทยอาหม ดูวิธีการเล่นเป็นแบบเดียวกัน อาจเลียนแบบการเล่นไปจากกันก็ได้
เมื่อรัฐบาลไทยมอบให้คณะนาฏศิลป์ของกรมศิลปากรไปแสดงเพื่อเชื่อมสัมพันธ ไมตรี ณ นครย่างกุ้งและมัณฑเลย์ ระหว่างเดือนมีนาคมและเมษายน พ.ศ.2509 ทางรัฐบาลพม่าได้จัดนักโบราณคดีพม่าผู้หนึ่งเป็นผู้นำชมพิพิธภัณฑ์สถานและ โบราณสถานเรื่องกลองยาวได้กล่าวว่า พม่าได้กลองยาวมาจากไทยใหญ่อีกต่อหนึ่ง
การละเล่นประเภทนี้ว่า เถิดเทิง เทิงบ้องนั้น คงเรียกตามเสียงกลองยาว กล่าวคือ มีเสียงเมื่อเริ่มตีเป็นจังหวะ หูคนไทยได้ยินเป็นว่า “เถิด-เทิง-บ้อง-เทิง-บ้อง” ก็เลยเรียกตามเสียงที่ได้ยินว่าเถิดเทิง หรือเทิงบ้องกลองยาวตามกันไป เพื่อให้ต่างกับการเล่นอย่างอื่น
ลักษณะการแสดง
ก่อนเล่นมีการทำพิธีไหว้ครู มีดอกไม้ธูปเทียน เหล้าขาว บุหรี่และเงินค่ายกครู 12 บาท การไหว้ครูใช้การขับเสภา เมื่อไหว้ครูแล้วจะโห่ขึ้น 3 ลา แล้วเริ่มแสดง โดยนักดนตรีประกอบเริ่มบรรเลงผู้ร่ายรำก็จะเดินและร่ายรำไปตามจังหวะกลอง มีท่าร่ายรำทั้งหมด 33 ท่า ท่าที่หวาดเสียวและตื่นเต้นมากที่สุดก็เห็นจะเป็นท่าที่ 30 - 31 คือท่าที่มีการต่อกลองขึ้นไป 3 ใบ ให้ผู้แสดงคนหนึ่งขึ้นไปยืนบนกลองใบที่ 3 แล้วควงกลอง และคาบกลอง ซึ่งผู้แสดงต้องใช้ความสามารพิเศษเฉพาะตัว ผู้ตีกลองยาวบางพวกก็ตีหกหัวกัน แลบลิ้นปลิ้นตา กลอกหน้ายักคิ้ว ยักคอไปพลาง และถ้าผู้ตีคนใดตีได้จนถึงกับถองหน้ากลองด้วยศอก โขกด้วยคาง กระทุ้งด้วยเข่า โหม่งด้วยเข่า โหม่งด้วยหัว เล่นเอาผู้ตีคลุกฝุ่นคลุกดินขะมุกขะมอมไปทั้งตัวสุดแต่จะให้เสียงกลองยาวดัง ขึ้นได้เป็นสนุกมาก และนิยมกันว่าผู้ตีกลองยาวเก่งมากผู้เล่นก็ภูมิใจ นอกจากนั้นก็มีคนรำแต่งตัวต่าง ๆ สุดแต่สมัครใจ คนดูคนใดรู้สึกสนุกจะเข้าไปร่วมรำด้วยก็ได้เพราะเป็นการเล่นอย่างชาวบ้าน ใครจะสมัครเข้าร่วมเล่นร่วมรำด้วยก็ได้ บางคนก็แต่งตัวพิสดาร ผัดหน้าทาตัวด้วยแป้งด้วยเขม่าดินหม้อ หน้าตาเนื้อตัวดำด่าง สุดแต่จะให้คนดูรู้สึกทึ่งและขบขัน ออกมารำเข้ากับจังหวะเทิงบ้อง แต่ที่แต่งตัวงาม ๆ เล่นและรำกันเรียบ ๆ น่าดูก็มี เช่นที่ปรับปรุงขึ้นเล่นโดยศิลปินของกรมศิลปากร และมีผู้นำแบบอย่างไปเล่นแพร่หลายอยู่ในสมัยนี้
เพราะฉะนั้นการเล่น ย่อมเป็นส่วนของวัฒนธรรมที่แสดงออกมา จะเป็นวัฒนธรรมอยู่ในระดับใดก็แล้วแต่สถานที่และโอกาสเหมาะกับถิ่นหนึ่งแต่ ไม่เหมาะกับอีกถิ่นหนึ่งก็ได้ ถ้าปรับให้มีลักษณะเหมือนกันตลอดทุกถิ่น ก็ไม่เป็นความเจริญในทางวัฒนธรรม ความเจริญของวัฒนธรรมอยู่ที่แปลก ๆ ต่าง ๆ กัน แต่ว่าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในส่วนรวม และรู้จักดัดแปลงแก้ไขให้เหมาหะกับความเป็นอยู่ของแต่ละท้องถิ่นตามกาลสมัย แต่ไม่ทำลายลักษณะอันเป็นเอกเทศของแต่ละถิ่นให้สูญไป เปรียบเหมือนเป็นคนไทยด้วยกัน
การแต่งกาย
ในสมัยปัจจุบันกรมศิลปากรได้ปรับปรุงการแต่งกายและกำหนดไว้เป็นแบบฉบับ คือ
1. ชาย นุ่งกางเกงขายาวครึ่งแข้ง สวมเสื้อคอกลม แขนสั้น เหนือศอก มีผ้าโพกศีรษะและผ้าคาดเอว
2. หญิง นุ่งผ้าซิ่นมีเชิงยาวกรอมเท้า สวมเสื้อแขนกระบอกคอปิด ผ่าอกหน้า ห่มสไบทับเสื้อ สวมสร้อยตัวคาดเข็มขัดทับนอกเสื้อ สร้อยคอ และต่างหู ปล่อยผมทัดดอกไม้ด้านซ้าย
การเล่นเถิดเทิง มีผู้สันนิษฐานว่าเป็นของพม่านิยมเล่นกันมาก่อน เมื่อครั้งพม่ามาทำสงครามกับไทย ในสมัยกรุงธนบุรี หรือสมัยต้นแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เวลาพักรบพวกทหารพม่าก็เล่นสนุกสนานด้วยการเล่น ต่าง ๆ ซึ่งทหารพม่าบางพวกก็เล่น “กลองยาว” พวกไทยเราได้เห็นก็จำมาเล่นกันบ้าง ยังมีเพลงดนตรีเพลงหนึ่งซึ่งดนตรีไทยนำมาใช้บรรเลง มีทำนองเป็นเพลงพม่า เรียกกันมาแต่เดิมว่า เพลงพม่ากลองยาว ต่อมาได้มีผู้ปรับเป็นเพลงระบำ กำหนดให้ผู้รำแต่งตัวใส่เสื้อนุ่งโสร่งตา ศีรษะโพกผ้าสีชมพู (หรือสีอื่น ๆ บ้างตามแต่จะให้สีสลับกัน เห็นสวยอย่างแบบระบำ)มือถือขวานออกมาร่ายรำเข้ากับจังหวะเพลงที่กล่าวนี้ จึงเรียกเพลงนี้กันอีกชื่อหนึ่งว่า เพลงพม่ารำขวาน
อีกความหนึ่งมีผู้กล่าวว่า การเล่นเทิงบ้องกลองยาวนี้ เพิ่งมีเข้ามาในเมืองไทยเมื่อสมัยรัชกาลที่ 4 กรุงรัตนโกสินทร์นี้เอง กล่าวคือ มีพม่าพวกหนึ่งนำเข้ามาในรัชกาลนั้น ยังมีบทร้องกราวรำยกทัพพม่า ในการแสดงละครเรื่องพระอภัยมณี ตอน เก้าทัพ ซึ่งนิยมเล่นกันมาแต่ก่อน สังเกตดูก็เป็นตำนานอยู่บ้างแล้ว คือ ร้องกันว่า
ทุงเล ฯ ทีนี้จะเห่พม่าใหม่
ตกมาเมืองไทย มาเป็นผู้ใหญ่ตีกลองยาว
ตีว่องตีไวตีได้จังหวะ ทีนี้จะกะเป็นเพลงกราว
เลื่องชื่อลือฉาว ตีกลองยาวสลัดได ๆ
เมื่อชาวไทยเราเห็นเป็นการละเล่นที่สนุกสนานและเล่นได้ง่าย ก็เลยนิยมเล่นกันแพร่หลายไปแทบทุกหัวบ้านหัวเมือง สืบมาจนตราบทุกวันนี้ กลองยาวที่เล่นกันในวงหนึ่ง ๆ มีเล่นกันหลายลูกมีสายสะพายเฉวียงป่าของผู้ตี ลักษณะรูปร่างของกลองยาวขึงหนังด้านเดียวอีกข้างหนึ่งเป็นหางยาว บานปลายเหมือนกับกลองยาวของชาวเชียงใหม่ แต่กลองยาวของชาวเชียงใหม่เป็นกลองยาวจริง ๆ ยาวถึงประมาณ 2 วา ส่วนกลองยาวอย่างที่เล่นกันนี้ ยาวเพียงประมาณ 3 ศอกเท่านั้น ซึ่งสั้นกว่าของเชียงใหม่มาก ทางภาคอีสานเรียกกลองยาวชนิดนี้ว่า กลองหาง
กลองยาวแบบนนี้ของพม่าเรียกว่า โอสิ มีลักษณะคล้ายคลึงกับของชาวไทยอาหมในแคว้นอัสสัม เว้นแต่ของชาวไทยอาหมรูปร่างคล้ายตะโพน คือ หัวท้ายเล็ก กลางป่องใบเล็กกว่าตะโพน ขึ้นหนังทั้งสองข้าง ผูกสายสะพายตีได้ ตามที่เห็นวิธีเล่นทั้งกลองยาวของพม่าและกลองของชาวไทยอาหม ดูวิธีการเล่นเป็นแบบเดียวกัน อาจเลียนแบบการเล่นไปจากกันก็ได้
เมื่อรัฐบาลไทยมอบให้คณะนาฏศิลป์ของกรมศิลปากรไปแสดงเพื่อเชื่อมสัมพันธ ไมตรี ณ นครย่างกุ้งและมัณฑเลย์ ระหว่างเดือนมีนาคมและเมษายน พ.ศ.2509 ทางรัฐบาลพม่าได้จัดนักโบราณคดีพม่าผู้หนึ่งเป็นผู้นำชมพิพิธภัณฑ์สถานและ โบราณสถานเรื่องกลองยาวได้กล่าวว่า พม่าได้กลองยาวมาจากไทยใหญ่อีกต่อหนึ่ง
การละเล่นประเภทนี้ว่า เถิดเทิง เทิงบ้องนั้น คงเรียกตามเสียงกลองยาว กล่าวคือ มีเสียงเมื่อเริ่มตีเป็นจังหวะ หูคนไทยได้ยินเป็นว่า “เถิด-เทิง-บ้อง-เทิง-บ้อง” ก็เลยเรียกตามเสียงที่ได้ยินว่าเถิดเทิง หรือเทิงบ้องกลองยาวตามกันไป เพื่อให้ต่างกับการเล่นอย่างอื่น
ลักษณะการแสดง
ก่อนเล่นมีการทำพิธีไหว้ครู มีดอกไม้ธูปเทียน เหล้าขาว บุหรี่และเงินค่ายกครู 12 บาท การไหว้ครูใช้การขับเสภา เมื่อไหว้ครูแล้วจะโห่ขึ้น 3 ลา แล้วเริ่มแสดง โดยนักดนตรีประกอบเริ่มบรรเลงผู้ร่ายรำก็จะเดินและร่ายรำไปตามจังหวะกลอง มีท่าร่ายรำทั้งหมด 33 ท่า ท่าที่หวาดเสียวและตื่นเต้นมากที่สุดก็เห็นจะเป็นท่าที่ 30 - 31 คือท่าที่มีการต่อกลองขึ้นไป 3 ใบ ให้ผู้แสดงคนหนึ่งขึ้นไปยืนบนกลองใบที่ 3 แล้วควงกลอง และคาบกลอง ซึ่งผู้แสดงต้องใช้ความสามารพิเศษเฉพาะตัว ผู้ตีกลองยาวบางพวกก็ตีหกหัวกัน แลบลิ้นปลิ้นตา กลอกหน้ายักคิ้ว ยักคอไปพลาง และถ้าผู้ตีคนใดตีได้จนถึงกับถองหน้ากลองด้วยศอก โขกด้วยคาง กระทุ้งด้วยเข่า โหม่งด้วยเข่า โหม่งด้วยหัว เล่นเอาผู้ตีคลุกฝุ่นคลุกดินขะมุกขะมอมไปทั้งตัวสุดแต่จะให้เสียงกลองยาวดัง ขึ้นได้เป็นสนุกมาก และนิยมกันว่าผู้ตีกลองยาวเก่งมากผู้เล่นก็ภูมิใจ นอกจากนั้นก็มีคนรำแต่งตัวต่าง ๆ สุดแต่สมัครใจ คนดูคนใดรู้สึกสนุกจะเข้าไปร่วมรำด้วยก็ได้เพราะเป็นการเล่นอย่างชาวบ้าน ใครจะสมัครเข้าร่วมเล่นร่วมรำด้วยก็ได้ บางคนก็แต่งตัวพิสดาร ผัดหน้าทาตัวด้วยแป้งด้วยเขม่าดินหม้อ หน้าตาเนื้อตัวดำด่าง สุดแต่จะให้คนดูรู้สึกทึ่งและขบขัน ออกมารำเข้ากับจังหวะเทิงบ้อง แต่ที่แต่งตัวงาม ๆ เล่นและรำกันเรียบ ๆ น่าดูก็มี เช่นที่ปรับปรุงขึ้นเล่นโดยศิลปินของกรมศิลปากร และมีผู้นำแบบอย่างไปเล่นแพร่หลายอยู่ในสมัยนี้
เพราะฉะนั้นการเล่น ย่อมเป็นส่วนของวัฒนธรรมที่แสดงออกมา จะเป็นวัฒนธรรมอยู่ในระดับใดก็แล้วแต่สถานที่และโอกาสเหมาะกับถิ่นหนึ่งแต่ ไม่เหมาะกับอีกถิ่นหนึ่งก็ได้ ถ้าปรับให้มีลักษณะเหมือนกันตลอดทุกถิ่น ก็ไม่เป็นความเจริญในทางวัฒนธรรม ความเจริญของวัฒนธรรมอยู่ที่แปลก ๆ ต่าง ๆ กัน แต่ว่าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในส่วนรวม และรู้จักดัดแปลงแก้ไขให้เหมาหะกับความเป็นอยู่ของแต่ละท้องถิ่นตามกาลสมัย แต่ไม่ทำลายลักษณะอันเป็นเอกเทศของแต่ละถิ่นให้สูญไป เปรียบเหมือนเป็นคนไทยด้วยกัน
โอกาสที่แสดง
ประเพณีเล่น “เถิดเทิง”หรือ “เทิงบ้องกลองยาว” ในเมืองไทยนั้น มักนิยมเล่นกันในงานตรุษ งานสงกรานต์ หรือในงานแห่งแหน ซึ่งต้องเดินเคลื่อนขบวน เช่น ในงานแห่นาค แห่พระ และแห่กฐิน เป็นต้น เคลื่อนไปกับขบวน พอถึงที่ตรงไหนเห็นว่ามีลานกว้างหรือเป็นที่เหมาะก็หยุดตั้งวงเล่นรำกันเสีย พักหนึ่ง แล้วก็เคลื่อนขบวนต่อไปใหม่แล้วก็มาหยุดตั้งวงเล่นและรำกันอีก การเล่นเถิดเทิงของกรมศิลปากรปรับปรุงใหม่ จะแต่งตัวแบบไทย ๆ แต่ยังเป็นประเพณีดั้งเดิม คือยังใช้โพกหัวด้วยผ้าแพรบาง ๆ ตามแบบพม่าอยู่ นอกจากนี้ ก็เพิ่มผู้รำฝ่ายหญิงแต่งตัวงดงามแบบหญิงไทย กำหนดแบบแผนลีลาท่ารำ โดยกำหนดให้มีกลองรำ กลองยืน เป็นต้น
กลองรำ หมายถึง ผู้ที่จะแสดงลวดลายในการตีบทพลิกแพลงต่าง ๆ เช่น ถองหน้า กลองด้วยศอก กระทุ้งด้วยเข่า เป็นต้น
กลองยืน หมายถึง ผู้ตีกลองยืนจังหวะให้การแสดงดำเนินไปอย่างเรียบร้อย ในขณะที่กลองรำวาดลวดลายรำต้อนนางรำอยู่ไปมา
การเล่นเถิดเทิงแบบนี้มีมาตรฐานตายตัว ผู้เล่นทั้งหมดต้องได้รับการฝึกฝนมาก่อนถึงจะแสดงได้เป็นระเบียบและน่าดู คนดูจะได้เห็นความงามและได้รับความสนุกสนานแม้จะไม่ได้ร่วมวงเล่นด้วยก็ตาม
ในสมัยปัจจุบันกรมศิลปากรได้ปรับปรุงการแต่งกายและกำหนดไว้เป็นแบบฉบับ คือ
1. ชาย นุ่งกางเกงขายาวครึ่งแข้ง สวมเสื้อคอกลม แขนสั้น เหนือศอก มีผ้าโพกศีรษะและผ้าคาดเอว
2. หญิง นุ่งผ้าซิ่นมีเชิงยาวกรอมเท้า สวมเสื้อแขนกระบอกคอปิด ผ่าอกหน้า ห่มสไบทับเสื้อ สวมสร้อยตัวคาดเข็มขัดทับนอกเสื้อ สร้อยคอ และต่างหู ปล่อยผมทัดดอกไม้ด้านซ้าย
ดนตรีที่ใช้
เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการเล่นก็มีกลองยาว ( เล่นกันหลาย ๆ ลูกก็ได้) เครื่องประกอบจังหวะ มี ฉิ่ง ฉาบ กรับ โหม่ง มีประมาณ 4 คน คนตีกลองยืน 2 คน คนตีกลองรำ 2 คน และหญิงที่รำล่ออีก 2 คน
สถานที่แสดง
แสดงในบริเวณพื้นลานกว้าง ๆ หรือบนเวที
จำนวนผู้แสดง
จำนวนผู้แสดงจะมีเป็นชุดราว 10 คน เป็นอย่างน้อยมีผู้บรรเลงดนตรี 4 คน คนตีกลองยืน 2 คน คนตีกลองรำ 2 คน และหญิงที่รำล่ออีก 2 คน
เวลาแสดงพวกตีเครื่องประกอบจังจะทำหน้าร้องประกอบเร่งเร้าอารมณ์ให้สนุกสนาน ไปในขณะตีด้วย คำที่ใช้ร้องเดิมมีหลายอย่าง แต่ที่ใช้ร้องขณะนี้มีอยู่ไม่กี่อย่าง ขอยกตัวอย่างบทร้องมาให้ดูดังนี้
1) มาแล้วโหวย มาแล้ววา มาแต่ของเขา ของเราไม่มา ตะละล้า หรือมาแล้วโหวย มาแล้ววา มาแต่ป่า รอยตีนโตโต
2) ต้อนเข้าไว้ ต้อนเข้าไว้ เอาไปบ้านเรา บ้านเราคนจนไม่มีคนหุงข้าว ตะละล้า หรือต้อนเข้าไว้ ต้อนเข้าไว้ เอาไปบ้านเรา พ่อก็แก่แม่ก็เฒ่า เอาไปหุงข้าวให้พวกเรากิน ตะละล้า
3)ใครมีมะกรูด มาแลกมะนาว ใครมีลูกสาว มาแลกลูกเขย เอาวะ เอาเหวย ลูกเขยกลองยาว ตะละล้า
แต่งเนื่องจากคนไทยเรามีนิสัยเจ้าบทเจ้ากลอนจึงมักย้ายถ่ายเทการร้องให้แปลกออกไปหรือให้พิลึกพิลั่นเล่นตามอารมณ์ เช่น
“ใครมีมะกรูด มาแลกมะนาว” แล้วแทนที่จะร้องแบบเดิมก็ร้องกลับไปมาว่า
“ใครมีมะนาว มาแลกมะกรูด” แล้วย้ำว่า “มะกรูด ๆ ๆ ๆ มะนาว ๆ ๆ ๆ” ดังนี้ เป็นต้น
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)